Search

ค้นหา

Translate

วันพฤหัสบดีที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2567

ประวัติความเป็นมาของโหมะน์ฮี่นก้า หรือ หม่อฮิงคา ขนมจีนพม่าเลิศรสประจำชาติพม่า


ประวัติความเป็นมาของโหมะน์ฮี่นก้า หรือ หม่อฮิงคา ขนมจีนพม่าเลิศรสประจำชาติพม่า

โหมะน์ฮี่นก้า หรือ หม่อฮิงคา (พม่า: မုန့်ဟင်းခါး, เอ็มแอลซีทีเอส: mun.hang:hka:, ออกเสียง: [mo̰ʊ̯ɰ̃.hɪ́ɰ̃.ɡá]) เป็นขนมจีนแบบพม่า กินกับน้ำยาปลาซึ่งเป็นอาหารประจำชาติของพม่า

สามารถหารับประทานได้ทั่วประเทศ นิยมรับประทานเป็นอาหารเช้าในเมืองใหญ่มีขายเป็นอาหารริมถนน นิยมกินเป็นอาหารเช้า ในปัจจุบันมีขายในรูปกึ่งสำเร็จรูป

โหมะน์ฮี่นก้า


โหมะน์ฮี่นก้าและเครื่องเครา
มื้ออาหารเช้า
แหล่งกำเนิดพม่า

ส่วนผสมหลัก
ปลาดุก ขนมจีน น้ำปลา กะปิ ข่า หยวกกล้วย ตะไคร้ หัวหอม กระเทียม แป้งถั่วหัวช้าง
ตำราอาหาร: โหมะน์ฮี่นก้า
สื่อ: โหมะน์ฮี่นก้า

ประวัติ
มีการสันนิษฐานว่าโหมะน์ฮี่นก้าน่าจะเกิดขึ้นในช่วงปยูของพม่าซึ่งได้รับอิทธิพลจากจีนและอินเดีย โหมะน์ฮี่นก้าเริ่มเป็นที่มีอิทธิพลในอาหารไทย ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 แป้งราคาถูกจากสหรัฐอเมริกาได้เข้ามาสู่ตลาดไทย และขณะเดียวกับที่สหรัฐไทยเดิมล่มสลายลง กองทัพพายัพของไทยได้กลับมาจากการรบที่ประเทศพม่า ทหารไทยได้คุ้นเคยกับอาหารพม่ามาก่อนทำให้ได้มีการคิดดัดแปลงรวมกับขนมจีนน้ำเงี้ยวให้มีรสชาติคล้ายโหมะน์ฮี่นก้าเข้าไปด้วย[ต้องการอ้างอิง]

การปรุง
โหมะน์ฮี่นก้าในแต่ละพื้นที่ของพม่ามีความแตกต่างกัน เช่นในยะไข่จะใส่กะปิมาก น้ำน้อย แต่สูตรมาตรฐานมาจากพม่าภาคใต้ซึ่งเป็นบริเวณที่หาปลาสดได้ง่าย เครื่องปรุงหลักได้แก่แป้งถั่วหัวช้างหรือข้าวคั่วบด กระเทียม หัวหอม ตะไคร้ หยวกกล้วย ขิง กะปิ น้ำปลา และปลาดุก 


ต้มรวมกันให้เดือด กินกับขนมจีน ปรุงรสเพิ่มด้วยน้ำปลา มะนาวหั่น หอมเจียว ผักชี พริก และของทอดกรอบ เช่น ถั่วหัวช้าง (ပဲကြော်, pè gyaw), ถั่วเขียว (ဘယာကြော်, baya gyaw) หรือปาท่องโก๋หั่น (အီကြာ‌ကွေး) หรืออาจเป็นไข่ต้ม[2][1]

รายการบล็อกของฉัน