Search

ค้นหา

Translate

วันจันทร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2552

ความเชื่อโบราณ-ในขณะตั้งครรภ์

ความเชื่อโบราณ.. ช่วงตั้งครรภ์จะเชื่อใครดีเพื่อคลายความสับสนกังวลใจของบรรดาคุณแม่มือใหม่แห่งยุค " บันทึกคุณแม่ " ฉบับนี้ จึงได้หยิบยกเอาบางเรื่องราวเกี่ยวกับความเชื่อในเรื่อง " การดูแลครรภ์ " ในสมัยอดีตกาลมานำเสนอพร้อมทั้งอาศัยหลักการและเหตุผลตลอดจนข้อมูลทางด้านวิชาก?ารมาอ้างอิง เพื่อช่วยให้คุณแม่ช่างสงสัยได้ใช้ประกอบในการพิจารณาตัดสินใจนะคะ
1. ดื่มน้ำมะพร้าวอ่อน มีความเชื่อต่อๆ กันมาจนถึงทุกวันนี้ว่า การดื่มน้ำมะพร้าวอ่อนทุกวันระหว่างตั้งครรภ์นั้น จะทำให้เด็กทารกที่คลอดมามีผิวพรรณสะอาดเกลี้ยงเกลา ไม่มีไขมันติดตัวออกมาเวลาคลอด ?? เกี่ยวกับความเชื่อมในเรื่องนี้นั้นคุณคัทรินทร์ ปิยะวาทวงศ์ นักโภชนาการโรงพยาบาลพระรามเก้ากล่าวชี้แจงว่า "... ในเรื่องนี้นั้นยังไม่มีงานวิจัยออกมายืนยันอย่างชัดเจนค่ะว่าข้อเท็จจริงนั้นเ?ป็นอย่างไร แต่เคยมีงานวิจัยของเมืองนอกชิ้นหนึ่งออกมาว่า ในน้ำมะพร้าวมีสารชนิดหนึ่งซึ่งช่วยให้มดลูกบีบตัว ดังนั้นหากหญิงมีครรภ์ดื่มน้ำมะพร้าวเข้าไปสารตัวนี้ก็จะไปช่วยให้มดลูกบีบรัดร?ก ทำให้เกิดมีการคล้ายๆ ชะล้างเกิดขึ้น ...เหมือนๆ กับที่มีข้อห้ามไม่ให้คนที่กำลังมีประจำเดือนดื่มน้ำมะพร้าวนั่นแหละค่ะ เพราะเกรงว่าจะไปบีบรัดมดลูก แต่ยังไม่มีงานวิจัยใดที่ออกมายืนยันว่าดื่มน้ำมะพร้าวแล้วผิวพรรณเด็กจะดีค่ะ.?.. " อย่างไรก็ตามไม่ได้มีข้อห้ามไม่ให้คุณแม่ตั้งครรภ์ดื่มน้ำมะพร้าวที่แสนอร่อย เย็นชื่นใจ ... จริงไหมคะ ??

2. ห้ามนอนหงายเพราะรกจะติดหลังแล้วคลอดออกมาไม่ได้ พ.อ. ดาราพงศ์ ลังกาฟ้า สูตินรีแพทย์ได้กรุณาให้คำตอบเกี่ยวกับความเชื่อในเรื่องนี้ว่า "... เป็นการเข้าใจผิดของคนในสมัยก่อน ซึ่งไม่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องรกในร่างกาย รกจะไม่เกาะติดกับหลังของเรา เพราะรกอยู่ในมดลูก รกจะเกาะติดด้านหน้า หรือด้านหลังของมดลูกก็ได้ไม่มีอันตรายใดๆ ที่จะมีอันตรายคือ รกเกาะต่ำ โดยรกมาเกาะด้านล่างบริเวณปากมดลูก ซึ่งทำให้มีเลือดออกทางช่องคลอดได้ รกจะเกาะที่ไหนไม่ได้ขึ้นกับท่านอน การนอนตะแคงดีกว่านอนหงายในอายุครรภ์หลังๆ ตอนท้องโต การนอนหงายมดลูกจะไปกดทับเส้นเลือดดำใหญ่ ซึ่งอยู่ด้านหลังมดลูกได้ ทำให้ความดันโลหิตต่ำลง และเลือดไปหล่อเลี้ยงมดลูกน้อยลง เป็นอันตรายต่อแม่และเด็กได้ แต่ถ้านอนตะแคง มดลูกจะไม่ไปกดทับเส้นเลือดดำใหญ่ อันตรายก็ไม่เกิดขึ้น... " ข้อห้ามไม่ให้ " คนท้องนอนหงาย " นี้ ดูเหมือนจะเป็นความเชื่อของคนแทบทุกภาคของประเทศ ต่างกันเพียงแค่เหตุผล (คำขู่) เล็กๆ น้อยๆ เท่านั้นเองค่ะ บางท้องถิ่นบอกว่า...หากคนท้องนอนหงาย ลูกในท้องจะดิ้นแรง ทำให้แม่ท้องแตกตายได้ ...ฟังแล้วน่ากลัวจังเลยนะคะ อย่างไรก็ตามจากการวิจัยทางการแพทย์ของหลายหน่วยงานยืนยันว่า คุณแม่ตั้งครรภ์ควรนอนตะแคงด้านซ้ายเพราะเส้นเลือดใหญ่อยู่ทางด้านขวา หากนอนตะแคงขวาจะทำให้เลือดไหลไม่ค่อยสะดวกค่ะ

3. ห้ามไปงานศพ ร.อ. (หญิง) เพ็ญพร สมศิริ หัวหน้าโครงการเตรียมมารดาเพื่อการคลอด กองสูตินรีเวชกรรม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าได้แนะนำไว้ในหนังสือพิมพ์ " ผู้จัดการรายวัน " (7 มี.ค. 2544) ว่า "... หญิงตั้งท้องในระหว่างรอคลอดอย่าเครียด และแสดงอาการวิตก เพราะจะส่งผลต่อทารกน้อยในครรภ์ ...ควรทำใจให้มีความสุขยิ้มแย้ม เด็กเกิดมาจะได้มีสุขภาพกายและใจที่แข็งแรง... " น่าแปลกที่ความเชื่อเรื่องนี้ปรากฏมีตรงกันแทบทุกท้องถิ่นของประเทศไทย แตกต่างกันเฉพาะเหตุผลที่ไม่อนุญาตหรือห้ามคนตั้งครรภ์ไม่ให้ไปร่วมงานเท่านั้น?ที่ไม่ตรงกัน เช่น บางที่ให้เหตุผลว่า " กลัวมีวิญญาณร้ายจากสุสารติดตามมา " บางท้องที่ก็บอกว่า " กลัวผีเข้า " อย่างไรก็ตามหากพิจารณาตามหลักจิตวิทยาโดยยกเอาคำแนะนำของคุณหมอเพ็ญพรข้างต้นม?าประกอบแล้ว จะเห็นถึงความห่วงใยที่คนรุ่นเก่ามีต่อคนตั้งครรภ์และเด็กในท้อง ไม่อยากให้ต้องเข้าไปอยู่ท่ามกลางบรรยากาศ แห่งความสูญเสียโศกเศร้า ทำให้จิตใจต้องสลดหดหู่และโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นงานศพของญาติพี่น้องคนที่รั?กด้วยแล้ว อาจจะทำให้เกิดอาการ " เครียด " ขึ้นมาได้ ซึ่งจะส่งผลร้ายต่อทั้งตัวแม่และลูกในครรภ์

4. ห้ามออกกำลังกาย / ควรออกกำลังกาย คงเป็นเพราะในระหว่างการตั้งครรภ์คุณแม่ส่วนใหญ่มักมีอาการแพ้ท้อง คลื่นไส้อาเจียน ฯลฯ ดังนั้น ในสมัยก่อนบางท้องถิ่นจึงมองว่าการตั้งครรภ์นั้นเหมือนเป็นการเจ็บป่วยชนิดหนึ่?ง ซึ่งต้องการการพักผ่อนห้ามออกแรงในเรื่องนี้ พลเรือตรี นายแพทย์สุริยา ณ นคร รองเจ้ากรมแพทย์โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้าได้กล่าวไว้ในบทความเรื่อง " หญิงมีครรภ์กับการออกกำลังกายในน้ำ " ดังนี้ "... อย่างไรก็ดีหลักฐานต่างๆ แสดงว่าการออกกำลังกายสม่ำเสมอในระหว่างการตั้งครรภ์ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่เกิดจากการออกกำลังกาย ช่วยให้คลอดง่ายและหลังคลอดแล้วร่างกายจะคืนสู่สภาพปกติรวดเร็ว... " อย่างไรก็ตาม ท่านรองเจ้ากรมแพทย์ได้บอกว่า สตรีมีครรภ์ควรออกกำลังกายอย่างระมัดระวัง และพอเหมาะภายใต้คำแนะนำของแพทย์ ความเชื่อในเรื่องนี้ไม่เป็นเอกฉันท์แตกต่างไม่ตรงกันเหมือนดังข้ออื่นๆ เพราะบางท้องที่ทางภาคเหนือกลับนิยมให้หญิงมีครรภ์ทำงานบ้านไม่นั่งไม่นอนอยู่เ?ฉยๆ ด้วยเหตุผลที่ว่า หากอยู่เฉยๆ ไม่ทำงานแล้วท้องจะฝืดทำให้คลอดลูกยาก ซึ่งสอดคล้องกับเหตุผลที่คุณหมอแนะนำมาอย่างน่าประหลาดใจ

5. ห้ามกินกล้วยน้ำว้า เพราะจะทำให้คลอดยาก คุณคัทรินทร์ ปิยะวาทวงศ์ นักโภชนาการจากโรงพยาบาลพระรามเกล้าได้ให้ความเห็นในเรื่องนี้ว่า "... กล้วยน้ำว้าเป็นกล้วยที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง สาเหตุที่คนโบราณห้ามไม่ให้คนท้องกินนั้นน่าจะมีหลายสาเหตุ อย่างเช่น กลัวเด็กจะตัวโตแล้วคลอดยาก เพราะในสมัยก่อนยังไม่มีการผ่าตัดทำคลอด หากเด็กในท้องอ้วนท้วนสมบูรณ์เกินไปจะเป็นอันตรายต่อทั้งแม่และลูกได้ค่ะ อีกอย่างนั้นคือ ในกล้วยสุกๆ จะหวานมีแป้งมาก กินสองสามลูกก็จะรู้สึกอิ่มจนไม่อยากกินอย่างอื่น ทำให้ขาดสารอาหารได้ นอกจากนี้ การกินกล้วยห่ามๆ ไม่สุกจะทำให้เกิดอาการท้องผูก อาการท้องผูกนั้นเป็นปัญหาของคนท้องอยู่แล้ว ยิ่งกินกล้วยห่ามๆ เข้าไปจะทำให้มีปัญหาเรื่องท้องผูกมากยิ่งขึ้นค่ะ... "

6. ห้ามกินเนื้อวัว เพราะเชื่อว่าจะทำให้เนื้อตัวทารกที่เกิดใหม่ จะเต็มไปด้วยไขมันล้างออกยาก เกี่ยวกับข้อห้ามข้อนี้ คุณคัทรินทร์ กล่าวว่า "... จริงๆ แล้วโภชนาการสมัยใหม่ไม่ได้ห้ามไม่ให้คนท้องกินเนื้อวัวค่ะ แต่ควรระมัดระวังเพราะโดยปกติแล้วคนส่วนใหญ่ที่กินเนื้อวัวมักจะไม่ชอบกินสันใน?แต่ชอบกินเนื้อติดมัน ซึ่งจะทำให้อ้วนมีไขมันเยอะค่ะ... "

7. ห้ามกินหอย คนโบราณห้ามคนท้องกินหอยทุกประเภท เพราะมีความเชื่อว่า เวลาคลอดจะมีกลิ่นคาว และคลอดยากเหมือนหอยที่ติดอยู่ในเปลือก คุณคัทรินทร์ได้กรุณาชี้แจงในเรื่องนี้ว่า " โภชนาการคนท้องสมัยนี้ไม่มีข้อห้ามไม่ให้คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์กินหอยค่ะ เพราะหอยส่วนใหญ่จะให้คุณค่าให้สารไอโอดีนสูงคุณแม่ควรจะกินเพื่อป้องกันการขาด?สารไอโอดีน ยกเว้นแต่คุณแม่ตั้งครรภ์ในรายที่มีไขมันในเลือดสูง ควรงดกิน โดยเฉพาะหอยนางรมที่มีคอเรสเตอรอลสูงมากค่ะ " 8. ห้ามกินผักที่เป็นเครือเถา คนโบราณในบางท้องที่เช่นทางภาคเหนือจะห้ามไม่ให้คนท้องกินผักที่มีลักษณะเป็นเค?รือเถา เช่นผักตำลึง ยอดฟักทอง เป็นต้น คุณคัทรินทร์อธิบายในเรื่องนี้ว่า " น่าจะมาจากการที่คนสมัยก่อน ประสบกับตัวเองเป็นต้นว่า เห็นคนที่กินอาหารประเภทนี้แล้วมีอาการปวดขา ตามหลักโภชนาการแล้วน่าจะมีส่วนค่ะ เพราะในผักยอดอ่อนจะมีสาร purin สูง สารนี้เมื่อทำการย่อยจะกลายเป็นกรดยูริก ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคเก๊าส์ได้ ส่วนคนที่กินแล้วไม่เกิดอาการใดๆ นั้นควรจะทานผักเยอะๆ เพราะช่วยให้การขับถ่ายง่ายขึ้น "

*** ปัจจุบันคุณแม่ตั้งครรภ์หลายคนยังคงดื่มน้ำมะพร้าวอ่อนต่อไปและนอนตะแคงข้างซ้า?ยอยู่ทุกวัน ตราบใดที่ยังมีคำว่า " เดินตามหลังผู้ใหญ่หมาไม่กัด " ตราบนั้น. ไม่ว่าโลกจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ก็ยากยิ่งที่จะเลือนลบ " ความเชื่อโบราณ " ทั้งหลายให้จางหายไปจากสังคมไทย

รายการบล็อกของฉัน