หลายๆท่านคงจะรู้จักขนมหมั่นโถกันแล้วนะครับแต่ไม่รู้ว่าทุกๆคนจะเรียกมันว่าขนมหรือว่าเป็นอาหารกันแน่แต่มันก็มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานและมีที่มาที่ไปที่น่าตื่นเต้นนะครับวันนี้เราก็เลยมานำเสนอหมั่นโถว...
หมั่นโถวอาหารจีนชนิดหนึ่งและประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่ยาวนาน
อาหารจีนชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งนึ่ง
หมั่นโถว (จีนตัวย่อ: 馒头; จีนตัวเต็ม: 饅頭; พินอิน: mántóu ออกเสียง หมานโถว) เป็นขนมแป้งนึ่งชนิดหนึ่งที่มีสีขาวและมีสัมผัสอ่อนนุ่ม นิยมรับประทานในภาคเหนือของประเทศจีน นิรุกติศาสตร์พื้นบ้านเชื่อมโยงชื่อหมั่นโถวเข้ากับเรื่องเล่าเกี่ยวกับจูกัดเหลียง
หมั่นโถว
หมั่นโถวสีขาว
ประเภทขนมปัง, ติ่มซำ
แหล่งกำเนิดจีน
ภูมิภาคเอเชียตะวันออก
ส่วนผสมหลัก
แป้งสาลี, น้ำ, สารช่วยขึ้นฟู
ตำราอาหาร: หมั่นโถว สื่อ: หมั่นโถว
หมั่นโถว
นิรุกติศาสตร์และประวัติศาสตร์
หมั่นโถวทอด หรือ "หมั่นโถวเงินทอง" เป็นอาหารหวานของจีนที่เป็นที่นิยม เสิร์ฟพร้อมกับนมข้นหวาน
หมั่นโถวอาจมีต้นกำเนิดจากรัฐฉินในยุคราชวงศ์โจวในสมัยของฉินเจาเซียงหฺวาง (307 – 250 ปีก่อนคริตกาล) หมั่นโถวรวมถึงอาหารที่ทำจากข้าวสาลีอื่น ๆ อย่างก๋วยเตี๋ยว แป้งทอด และซาลาเปากลายมาเป็นที่นิยมในยุคราชวงศ์ฮั่น (206 ปีก่อนคริสตกาล - ค.ศ. 206) และเป็นที่รู้จักในชื่อเรียกรวมกันว่า ปิ่ง (餅; bǐng) หมั่นโถวถูกเรียกว่าเจิงปิ่ง (蒸餅; zhēngbǐng) หรือหลงปิ่ง (籠餅; lóngbǐng)
ในยุคราชวงศ์จิ้นตะวันตก (ค.ศ. 265–316) ชู่ ซี (束皙) เขียนเกี่ยวกับเจิงปิ่ง (蒸餅; zhēngbǐng) ในบทกวี "ถางปิ่งฟู่" (湯餅賦; tāngbǐngfù) ที่เขียนเมื่อราวปี ค.ศ. 300 ชู่ ซีเป็นคนแรกที่เรียกเจิงปิ่งว่าม่านโถว (曼頭; màntóu) ในบทกวีนี้มีการแนะนำให้กินเจิงปิ่งหรือม่านโถวในงานเลี้ยงในช่วงเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ
เชื่อกันว่าชาวมองโกลได้นำหมั่นโถวแบบที่มีไส้ (ซาลาเปาหรือเปาจี) ไปเผยแพร่ในหลายประเทศในเอเชียกลางและเอเชียตะวันออกเมื่อช่วงต้นยุคราชวงศ์หยวนในศตวรรษที่ 13 คำว่าหมั่นโถวกลายเป็นรากศัพท์ของคำว่า manty และ mantı ซึ่งเป็นเกี๊ยวใส่ไส้ในอาหารตุรกีและอาหารอุซเบกิสถาน (mantu)
คติชาวบ้าน
ตำนานของจีนยอดนิยมเล่าว่าชื่อหมั่นโถว (หมานโถว) แท้จริงแล้วมีที่มาจากคำพ้องเสียงคือคำว่าหมานโถว ที่เขียนว่า 蠻頭 (mántóu) ซึ่งมีความหมายว่า "ศีรษะอนารยชน"
ตำนานเป็นเรื่องราวในยุคสามก๊ก (ค.ศ. 220–280) เมื่อจูกัดเหลียง อัครมหาเสนาบดีแห่งรัฐจ๊กก๊กนำกองทัพจ๊กก๊กทำศึกกับกองกำลังของชนเผ่าลำมัน (南蠻 หนานหมาน) ในดินแดนทางใต้ของจ๊กก๊ก ซึ่งปัจจุบันอยู่บริเวณมณฑลยูนนานของประเทศจีนและทางเหนือของประเทศพม่า
หลังจากปราบเบ้งเฮ็กผู้เป็นมันอ๋อง (蠻王 หมานหวาง) หรือกษัตริย์ของชนเผ่าลำมันให้สวามิภักดิ์ จูกัดเหลียงก็นำทัพกลับจ๊กก๊ก แต่ระหว่างทางมาถึงริมแม่น้ำลกซุย (瀘水 หลูฉุ่ย) ที่ไหลเชี่ยวกรากยากจะข้ามไปได้ คนท้องถิ่นบอกจูกัดเหลียงว่าในสมัยก่อน ชนเผ่าลำมันจะสังเวยมนุษย์ผู้ชาย 49 คน ตัดศีรษะโยนลงไปในแม่น้ำเพื่อทำให้วิญญาณในแม่น้ำสงบลงและยอมให้ข้ามแม่น้ำได้
แต่จูกัดเหลียงไม่ต้องการเข่นฆ่าคนเพิ่มอีก จึงสั่งให้ฆ่าวัวและม้าที่ทัพจ๊กก๊กนำมาด้วย ยัดเนื้อลงในก้อนแป้งสาลีที่ปั้นเป็นรูปคล้ายศีรษะมนุษย์ (ลักษณะกลมและส่วนก้นแบน) จากนั้นนำมานึ่งแล้วโยนขนมแป้งนึ่งเหล่านั้นลงในแม่น้ำ แม่น้ำก็กลับมาสงบ หลังจากข้ามแม่น้ำมาได้ จูกัดเหลียงจึงต้องชื่อขนมแป้งนึ่งนี้ว่า หมานโถว (mántóu, 蠻頭, ซึ่งพัฒนาเป็นอักษรว่า 饅頭 ในปัจจุบัน) ซึ่งมีความหมายว่า "ศีรษะอนารยชน"
มีเรื่องเล่าอีกแบบหนึ่งย้อนไปถึงการยกทัพบุกใต้ของจูกัดเหลียง เมื่อจูกัดเหลียงสั่งให้ทหารที่ล้มป่วยด้วยโรคท้องร่วงและโรคอื่น ๆ ที่ระบาดในพื้นที่หนองน้ำให้รับประทานขนมแป้งนึ่งที่ยัดไส้เนื้อหรือไส้หวาน
ความหลากหลายของความหมายนอกภาคเหนือของจีน
หมั่นโถวรูปลูกท้อที่มีไส้ถั่วแดงกวน พบในภัตตาคารอาหารจีนในประเทศญี่ปุ่น
ก่อนยุคราชวงศ์ซ่ง (ค.ศ. 960–1279) คำว่าหมั่นโถวมีความหมายถึงขนมแป้งนึ่งทั้งที่มีไส้และไม่มีไส้[11] คำว่าเปาจึ (包子) เกิดขึ้นในยุคราชวงศ์ซ่งเพื่อใช้ระบุถึงเฉพาะขนมแป้งนึ่งที่มีไส้[12] เป็นผลให้คำว่าหมั่นโถวค่อย ๆ กลายเป็นคำที่ใช้ระบุถึงเฉพาะขนมแป้งนึ่งที่ไม่มีไส้ในภาษาจีนกลางและบางภาษาถิ่นของจีน
อย่างไรก็ตาม ในหลายพื้นที่คำว่าหมั่นโถวยังคงมีความหมายถึงขนมแป้งนึ่งที่มีไส้อยู่ ในภูมิภาคเจียงหนานที่พูดภาษาอู๋ คำว่าหมั่นโถวมักหมายถึงทั้งขนมแป้งนึ่งที่มีไส้และไม่มีไส้ ในมณฑลชานซีที่พูดภาษาจิ้น ขนมแป้งนึ่งที่ไม่มีไส้มักเรียกว่า หมัวหมัว (饃饃) ซึ่งประกอบด้วยตัวอักษรที่มีความหมายว่า "ขนมแป้งนึ่ง" ชื่อหมัวหมัวแพร่หลายในทิเบตและเนปาล และปัจจุบันมักใช้หมายถึงขนมแป้งนึ่งหรือเกี๊ยวที่มีไส้
ชื่อหมั่นโถวเป็นรากศัพท์ของคำว่า manty และ mantı ซึ่งเป็นเกี๊ยวมีไส้ในอาหารตุรกีอาหารเปอร์เซีย อาหารอุซเบกิสถานและอาหารปากีสถาน (mantu, มีที่มาจากผู้อพยพชาวมองโกลเชื้อสายเติร์ก)ในประเทศญี่ปุ่น คำว่า มันจู (饅頭) มักใช้หมายถึงขนมแป้งนึ่งที่มีไส้ ซึ่งแบบดั้งเดิมจะมีไส้ถั่วบดหรือไส้เนื้อบดผสมผัก (นิกูมัง 肉まん "มันจูเนื้อ")
หมั่นโถวมีไส้เรียกว่า siyopaw ในภาษาฟิลิปปินส์ แผลงมาจากคำภาษาจีนว่า เชาเปา (燒包) ในประเทศไทยมีหมั่นโถวมีไส้ที่มีคำเรียกว่า ซาลาเปาในประเทศเกาหลี มันทู (만두; 饅頭)สามารถหมายถึงทั้งซาลาเปาหรือเปาจึ (飽子) และเกี๊ยวซ่าหรือเจี่ยวจึ (餃子) ในอาหารมองโกล buuz และ manty หรือ mantu เป็นเกี๊ยวนึ่ง อาหารนึ่งนี้กล่าวกันว่าเป็นต้นกำเนิดของมันทูในเกาหลี ในประเทศสิงคโปร์แลมาเลเซีย ปูผัดพริกมักเสิร์ฟพร้อมกับหมันโถวทอดในประเทศนาอูรูและประเทศปาปัวนิวกินี หมั่นโถวรู้จักในชื่อว่า mãju
ไม่นึกไม่คิดเลยนะครับว่าขนมธรรมดาธรรมดาจะมีความเป็นมาที่ยาวนานและน่าตื่นเต้นอะไรขนาดนี้