Search

ค้นหา

Translate

วันเสาร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2568

ย้อนรอยตำนานสัพแหยกอาหารไทยโปรตุเกสโบราณ


ย้อนรอยตำนานสัพแหยก
อาหารไทยโปรตุเกสโบราณ

สัพแหยก [สับ-พะ-แหฺยก] หรือ สัพแหยะ เป็นอาหารไทยชนิดหนึ่งซึ่งได้รับอิทธิพลจากโปรตุเกส พบได้ที่ชุมชนกุฎีจีน กรุงเทพมหานครเป็นอาหารคาว

 ทำจากเนื้อสัตว์สับละเอียด ผัดกับเครื่องเทศ ปรุงรสด้วยน้ำส้มสายชู น้ำตาล และน้ำปลา รสชาติคล้ายไส้กะหรี่ปั๊บ
สามารถรับประทานเป็นอาหารหลักคู่กับข้าวสวย หรือรับประทานเป็นของว่างคู่กับขนมปังก็ได้

สัพแหยก
มื้อ
อาหารหลัก, อาหารว่าง
แหล่งกำเนิด
ประเทศไทย
อุณหภูมิเสิร์ฟ
อุณหภูมิห้อง
ส่วนผสมหลัก
เนื้อบด, พริกชี้ฟ้าแดง, กระเทียม, หอมแดง, ยี่หร่า, ลูกผักชี, มันฝรั่ง, น้ำตาล, น้ำปลา, น้ำส้มสายชู
 ตำราอาหาร: สัพแหยก
ประวัติ
ชุมชนกุฎีจีนเป็นชุมชนของชาวไทยเชื้อสายโปรตุเกสที่อพยพจากกรุงศรีอยุธยาหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้พระราชทานที่ดินแก่ลูกหลานชาวโปรตุเกสกลุ่มดังกล่าว มีศูนย์กลางที่โบสถ์ซางตาครู้ส ซึ่งได้ตกทอดสำรับอาหารไทย-โปรตุเกสมาจนถึงปัจจุบัน หนึ่งในนั้นคือสัพแหยก นาวินี พงศ์ไทย (สกุลเดิม ทรรทรานนท์) ซึ่งเป็นชาวชุมชนกุฎีจีน สันนิษฐานว่าอาจเป็นอาหารที่ได้รับอิทธิพลจากเมืองกัว ประเทศอินเดีย ซึ่งอดีตเคยเป็นเมืองท่าของจักรวรรดิโปรตุเกสมาก่อน

ชื่อ "สัพแหยก" บ้างว่ามาจากคำว่า subject ในภาษาอังกฤษแปลว่า "คนในบังคับ" บ้างว่าเป็นคำโปรตุเกสว่า สับเช่ ที่แปลว่าการสับ
สัพแหยกทำจากเนื้อวัวสับละเอียด (ปัจจุบันอาจใช้เป็นเนื้อหมูหรือเนื้อไก่แทน) ผัดกับพริกแกงที่ทำจากพริกชี้ฟ้าแดง เกลือสมุทร กระเทียมจีน หอมแดง ยี่หร่า ลูกผักชี และผงขมิ้น ผัดด้วยไฟกลาง ปรุงรสด้วยน้ำส้มสายชู น้ำปลา และน้ำตาลทราย ให้ได้รสเปรี้ยวนำ เค็มและหวานตาม หลังจากนั้นจึงใส่มันฝรั่งต้มสุกหั่นเต๋าผัดเข้าด้วยกัน ผัดจนงวดไม่แฉะมากเป็นอันเสร็จ

รายการบล็อกของฉัน